Care labels
ฉลากระบุวิธีการดูแลรักษาเสื้อผ้า
Introduction (ความเป็นมาและความสำคัญ)
ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1972 คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ได้กำหนดการติดฉลากเพื่อระบุคำแนะนำในการดูแลรักษาเสื้อผ้า หรือที่เรียกว่า (Care Labeling Rule) โดยครอบคลุมเกี่ยวกับ การดูแลรักษาเสื้อผ้าและการกำหนดราคา ข้อกำหนดนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านซักรีดและร้านซักแห้งมีสามารถทำความสะอาดหรือดูแลรักษาเสื้อผ้าง่ายขึ้นเนื่องจากมีคำแนะนำหรือแนวทางที่ช่วยในการดูรักษาเสื้อผ้าอย่างเหมาะสม และในใเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1972 คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐได้มีการปรับเปลี่ยนข้อกำหนด โดยอนุญาติให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้า ระบุวิธีการทำควาสะอาดและดูรักษาเสื้อผ้าอย่างน้อยหนึ่งวิธี
ข้อกำหนดนี้ยังคลอบคลุมถึงนิยามต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า เสื้อผ้าสิ่งทอ หมายถึง เสื้อผ้าสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสิ่งทอ เพื่อใช้สวมใส่ปกปิดหรือปกป้องส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงถุงเท้าและเสื้อกางเกงชั้นใน แต่ข้อกำหนดดังกล่าวไม่รวม รองเท้า ถุงมือ หมวก และอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้สำหรับสวมหรือป้องกันศีรษะ วัตถุที่ผลิตจากหนังสัตว์หรือหนังนิ่ม และวัตถุหรือสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ผ้าลินิน เป็นต้น
What is care label? (ฉลากระบุวิธีการดูแลรักษาเสื้อผ้า คืออะไร)
ฉลากระบุวิธีการดูแลรักษาเสื้อผ้า หรือ care label คือ ป้ายที่ระบุวิธีการหรือข้อแนะนำในการทำความสะอาดและดูแลรักษาเสื้อผ้า โดยฉลากนี้จะถูกติดอยู่กับเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในบริเวณที่สังเกตได้ง่ายและคงทนตลอดเวลาการใช้งานของเสื้อผ้านั้น ในกรณีที่เสื้อผ้ามีชิ้นส่วนมากกว่าหนึ่งชิ้น แต่จำหน่ายเป็นชุดเดียวกัน จะมีฉลากติดอยู่เพียงฉลากเดียว แต่ถ้าแต่ละชิ้นส่วนจำหน่ายแยกกัน จะต้องติดฉลากแยกสำหรับแต่ละชิ้นส่วน รายละเอียดที่ระบุในฉลาก อาจมีทั้งสัญลักษณ์และข้อความที่ระบุถึงคำแนะนำในการดูแลรักษาเสื้อผ้า โดยเสื้อผ้าทั้งหมดที่จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีข้อความระบุ สัญลักษณ์ที่แสดงเป็นเพียงข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น สัญลักษณ์ต่างๆจะมีความหมายที่แตกต่างกัน ถ้าไม่แน่ใจว่าสัญลักษณ์ดังกล่าวมีความหมายอย่างไร ควรสอบถามจากผู้ประกอบการหรือร้านซักรีด
What is required of a care label? (ข้อมูลที่จำเป็นต้องมีในฉลาก)
จากข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน Care Labeling Rule คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐกำหนดไว้ว่า ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้าจะต้อง จะต้องไปไม่กระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดความอยุติธรรมต่อผู้บริโภค ไม่ปิดบัง หลอกลวง หรือระบุข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบนฉลาก นอกจากนนั้นยังต้องระบุข้อมูลในฉลากตามข้อกำหนด ดังนี้
- – ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้าจะต้องระบุข้อมูลที่จำเป็นให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ข้อมูลดังกล่าวต้องแสดงถึงวิธีหรือขั้นตอนที่ใช้ในการทำความสะอาดและดูแลรักษาเสื้อผ้าอย่างน้อยหนึ่งวิธี
- – มีคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการดูแลรักษาเสื้อผ้าที่เหมาะสมระบุอยู่บนฉลาก
- – ระบุข้อควรระวังเกี่ยวกับขั้นตอนการทำความสะอาดที่อาจส่งผลกระทบต่อเสื้อผ้า
- – ระบุคำเตือนในกรณีที่มไม่มีวิธีใดที่จะทำความสะอาดเสื้อผ้าโดยไม่ส่งผลเสียต่อเนื้อผ้า
- – ป้ายฉลากและข้อมูลที่ระบุจะต้องอยู่ในสภาพดีตลอดอายุการใช้งาน
May I remove the care label? (ควรตัดป้ายฉลากออกหรือไม่)
เสื้อผ้าสิ่งทอที่วางจำหน่ายมีความจำเป็นจะต้องติดฉลาก เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลในการดูแลรักษาเสื้อผ้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ แต่บางครั้งผู้บริโภคก็อาจจะตัดป้ายฉลากออกเมื่อซื้อสินค้าไปแล้ว ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เสื้อผ้าจะเสียหายเมื่อส่งทำความสะอาด เนื่องจากผู้ประกอบการร้านซักรีด จะไม่ทราบข้อมูลหรือข้อควรระวังในการดูแลรักษาเสื้อผ้านั้นๆ
What about trim? (วัสดุที่ปักหรือติดเพิ่มเติมบนเสื้อผ้า)
วิธีการทำความสะอาดและดูและรักษาเสื้อผ้าที่ระบุไว้ในฉลาก ควรจะมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวัสดุต่างๆที่ปักหรือติดเพิ่มเติมบนเสื้อผ้า เช่นกระดุมหรือวัสดุตกแต่งอื่นๆ ป้ายฉลากบางประเภทที่ระบุว่าเสื้อผ้านั้นควรจะทำความสะอาดด้วยการซักแห้ง แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่ปักหรือติดเพิ่มเติมบนเสื้อผ้า จัดว่าเป็นป้ายฉลากที่ให้ระบุข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ผู้ประกอบการร้านซักรีดไม่ทราบว่าวัสดุเหล่านั้นจะต้องถูกถอดแยกออกจากเสื้อผ้าก่อนทำความสะอาดหรือไม่ หรือควรจะมีวิธีในการดูแลทำความสะอาดอย่างไร
Definitions (คำนิยามที่เกี่ยวข้อง)
เนื้อหาส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ใน Care Labeling Rule กล่าวถึงนิยามของคำศัพท์ต่างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคำนิยามเหล่านี้จะช่วยอธิบายขั้นต้อนในการทำความสะอาดที่แตกต่างกัน เผื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายของเสื้อผ้า Drycleaning หรือ การซักแห้ง หมายถึง การทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่างๆ ด้วยการใช้น้ำยาซักแห้ง และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการซักแห้งต่างๆในการทำความสะอาด โดยกระบวนการทำความสะอาด อาจมีขั้นต้องสัมผัสกับความชื้น การอบแห้ง (อุณหภูมิสูงถึง 160 องศาฟาเรนไฮต์) และอาจมีการใช้ไอน้ำในการทำให้ผ้าเรียบ และรักษารูปทรงของเสื้อผ้า
Professionaly dryclean หมายถึง การทำความสะอาดด้วยวิธีซักแห้งโดยผู้เชี่ยวชาญโดยการใช้น้ำยาซักแห้งเท่านั้น และในป้ายควรจะมีข้อความที่ระบุถึงข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเพาะเจาะจง เช่น ใช้ความชื้นต่ำ อุณหภูมิต่ำ หรือไม่ใช้ไอน้ำในการรักษารูปทรงของเสื้อผ้า เป็นต้น
Machine wash หรือ การซักด้วยเครื่องซักผ้า หมายถึง การทำควาสะอาดเสื้อผ้าด้วยการซักน้ำที่สามารถใช้เครื่องซักผ้าในการทำความสะอาดได้ โดยป้ายฉลากอาจระบุข้อมูลเพิ่มเติมในการทำความสะอาดเช่น อุณหภูมิของน้ำ ปริมาณผ้า หรือวิธีการทำให้ผ้าแห้ง โดยช่วงของอุณหภูมิต่างๆ มีนิยามดังนี้
- ร้อน หมายถึง อุณหภูมิสูงถึง 150 องศาฟาเรนไฮต์ หรืออุณภูมิสูงสุดของเครื่องทำน้ำร้อน
- อุ่น หมายถึง อุณหภูมิระหว่าง 90-150 องศาฟาเรนไฮต์ หรืออุณหภูมิที่ไม่ร้อนจนเกินไปเมื่อสัมผัส
- เย็น หมายถึง อุณหภูมิ 85 องศาฟาเรนไฮต์ หรือน้ำประปา
Does “Washable” mean it also can be drycleaned?
(ป้ายที่ระบุว่าWashable หมายถึงสามารถทำความสะอาดด้วยการซักแห้งหรือไม่)
ข้อมูลในการทำความสะอาด ที่ระบุว่า Washable ไม่จำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดด้วยการศซักแห้งเสมอไป โดยทั่วไปผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าสินค้าจำเป็นที่จะต้องระบุวิธีในการทำความสะอาด และดูแลรักษาเสื้อผ้าอย่างน้อยหนึ่งวิธี แต่อาจไม่จำเป็นต้องระบุคำเตือนเกี่ยวกับวิธีที่ส่งผลเสียต่อเสื้อผ้า ดังนั้นป้ายระบุว่า Washable อาจหมายถึงการทำความสะอาดด้วยการซักแห้งหรือไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดด้วยการซักแห้งก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการไม่ทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจน ดังนั้นสมาคมซักผ้าโลก (International Fabricare Institute หรือ IFI) จึงสนับสนุนให้มีการระบุข้อมูลทั้งหมดลงบนป้ายฉลากให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
How should drycleaners handle garments with washing instruction?
การทำควาสะอาดเสื้อผ้าโดยไม่ทราบข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง อาจส่งผลให้เสื้อผ้าได้รับความเสียหาย เสื้อผ้าที่ระบุว่า Washable อาจหมายถึงการทำความสะอาดด้วยการซักแห้งหรือไม่ก็ได้ โดยทั่วไปผู้ประกอบการร้านซักรีด จะมีวิธีที่เหมาะในการทำความสะอาดเสื้อผ้า แต่ถ้าหากผู้ใช้บริการต้องการให้ทำความสะอาดด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากที่ระบุ ทางผู้ประกอบการอาจขอความร่วมมือ ให้ผู้ใช้บริการเซ็นหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้วิธีดังกล่าวที่ได้มีการตกลงร่วมกัน และทางผู้ประกอบการได้แจ้งแล้วว่าอาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายหลังจากการทำความสะอาด
What if you follow the label and a problem develops
ในกรณีที่เสื้อผ้าได้รับความเสียหายหลังจากปฏิบัติตามคำแนะนำและขั้นตอนในดูแลรักษาเสื้อผ้าตามที่ระบุไว้ในฉลาก ควรจะติดต่อร้านค้า เพื่ออธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าร้านค้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ควรเขียนจดหมายชี้แจ้งถึงผู้ผลิต โดยระบุข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเสื้อผ้า ข้อมูลคำแนะนำในการดูแลรักษาเสื้อผ้าที่ระบุไว้ในฉลาก และระบุจำนวนครั้งที่ซักหรือซักแห้งเสื้อผ้าชุดนั้นๆ และที่อยู่สำหรับติดต่อกลับ นอกจากนั้น ควรแจ้งข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ ถึงแม้ว่าทางองค์กรอาจจะไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ข้อมูลที่ได้รับแจ้งอาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงข้อกำหนดในการดูแลรักษาเสื้อผ้าต่อไป
ในกรณี่ที่เสื้อผ้าไม่มีการติดป้ายฉลาก สามารถแจ้งข้อมูลไปยัง คณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ โดยระบุชื่อและที่อยู่ของร้านค้า รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต แล้วส่งไปตามที่อยู่ด้านล่างนี้
Correspondence Branch
Federal Trade Commission
Washington, D.C. 20580
Your IFI Clothing care professional can help you?
(สมาคมซักผ้าโลกสามารถช่วยคุณในการดูแลรักษาเสื้อผ้าอย่างไร)
เสื้อผ้าที่จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนมากจะติดป้ายฉลากที่ระบุข้อมูลในการดูแลรักษาและทำความสะอาด ซึ่งจะระบุข้อมูลเพียง 1 วิธีเท่านั้น การใช้วิธีอื่นๆที่ไม่ได้ระบุในฉลากก็อาจส่งผลเสียต่อเสื้อผ้าได้ นอกจากนั้นป้ายฉลากอาจจะระบุสัญลักษณ์ต่างๆเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามจะมีข้อมูลที่กำกับควบคู่ไว้ด้วย ถ้าหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลรักษาเสื้อผ้า ทางสมาคมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คำแนะนำ
หมายเหตุ International Fabricare Institute ใช้คำแปลว่า สมาคมซักผ้าโลก ตามที่ระบุในเว็บไซต์ http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6158