Leather / Suede

เครื่องหนังและหนังนิ่ม

Selection is Important (การเลือกซื้อเป็นสิ่งสำคัญ)

การซื้อเสื้อผ้าที่ตัดเย็บหนัง หรือหนังนิ่ม เปรียบเสมือนการลงทุนอย่างหนึ่ง สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก่อน คือ ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

  • เลือกซื้อจากร้านที่มีชื่อเสียง
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการจับคู่ระหว่างสีของเครื่องหนัง หรือนั่งนิ่ม และผ้าที่เย็บติดอย่างเหมะสม เนื่องจากสีของหนังนิ่มอาจไม่สม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเลือกเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากหนังที่มีขนาดพอดีจนเกินไป เนื่องจากเครื่องหนังอาจขยายตัวในระหว่างการฟอกหนังและการหดตัวหลังจากทำความสะอาด
  • อ่านข้อมูลในการดูแลรักษาและทำความสะอาด
  • เลือกหนัง หรือหนังนิ่ม ที่มีสีอ่อน และสีพาสเทล เนื่องจากมีโอกาสที่สีจะซีดจางหลังจากการทำความสะอาดน้อยกว่าสีเข้ม

 

Specialty Leathers (คุณสัมบัติพิเศษของหนัง)

หนังจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น มีลายนูน มีลวดลายเฉพาะ หรือรอยย่น ดังนั้นการออกแบบหนังแต่ละชิ้นที่นำมาเย็บติดกันจึงต้องมีความจำเพาะ(ตามคุณสมบัติของหนังแต่ละประเภท) เนื่องจากเครื่องหนังโดยเฉพาะประเภทที่มีลวดลายคล้าย (Distressed leathers) อาจมีสี และเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกัน ตามบริเวณและลักษณะของผิวหนังสัตว์ที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องหนัง

 

Proper care begin at home (การดูแลที่เหมาะสมเริ่มต้นได้ง่ายๆที่บ้าน)

เคล็ดลับการดูแลตามรักษาหนังนิ่มและหนังเรียบ สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • สวมผ้าพันคอเพื่อปกป้องบริเวณคอเสื้อจากเหงื่อและไขมันบนร่างกาย
  • ถ้าเสื้อผ้าเปียก ควรตากให้อากาศแห้งและไม่ควรให้สัมผัสกับความร้อน
  • เก็บเสื้อผ้าที่ทำจากหนังไว้ในที่เย็น และมีอากาศถ่ายเท เนื่องจากหนังอาจแห้งหากสัมผัสกับความร้อน และอาจเกิดเชื้อราหากเก็บในที่ที่มีความชื้นสูง
  • อย่าเก็บเครื่องหนังไว้ในถุงพลาสติก
  • หากเกิดคราบสกปรกขึ้นให้นำเสื้อผ้า(หนัง)ไปทำความสะอาดให้เร็วที่สุดโดยส่งให้กับผู้เชี่ยวชาญในการทำความสะอาด ไม่ควรทำความสะอาดด้วยตนเอง

 

Cleaning your leather (การทำความสะอาดเครื่องหนัง)

  • ทำความสะอาดชิ้นส่วนทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
  • แจ้งข้อมูลในการดูแลทำความสะอาดที่ระบุไว้กับผลิตภัณฑ์
  • ระบุจุดที่มีคราบสกปรก เนื่องจากคราบเก่าที่ฝังแน่น อาจต้องใช้ความระมัดระวังในการทำความสะอาด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
  •  อย่ารู้สึกประหลาดใจถ้าผู้ประกอบการ ขอความร่วมมือให้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรอง หรือหนังสือยินยอมก่อนทำความสะอาด ในกรณีที่มีการระบุถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจความเสียหายจากการทำความสะอาด

 

Expectations after cleaning (สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการทำความสะอาด)

หนังที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้า อาจทำมาจากส่วนต่างๆของสัตว์หลายชนิด ผู้ผลิตพยายามที่จะจับคู่ชิ้นหนังที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อให้เสื้อผ้าซึ่งตัดเย็บจากหนังหลายหลายชิ้น มีความสม่ำเสมอ และกลมกลืนที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะพยายามเลือกใช้หนังที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ก็อาจจะสังเกตเห็นความแตกต่างได้เช่น น้ำหนัก และความไม่สม่ำเสมอของสี โดยความแตกต่างนี้อาจจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นหลังจากการทำความสะอาด

 

Loss of color (ปัญหาสีซีด)

ปัญหาที่มักพบหลังจากทำความสะอาดคือความแตกต่างของสี โดยทั่วไปกระบวนการการผลิต จะมีการฟอกหนังและแช่หนังในอ่างย้อมสีเพื่อให้ได้สีสม่ำเสมอ แต่หนังจากส่วนต่างๆของสัตว์อาจมีความติดทนของสีที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นสีย้อมบางชนิดอาจไม่ทนต่อการทำละลายของน้ำยาซักแห้ง ส่งผลให้สีซีด และทำให้สีไม่สม่ำเสมอ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการพ่นสีย้อมลงบนเครื่องหนัง แต่อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาด้วยการพ่นสี อาจทำให้สีติดทนน้อยกว่าของเดิม

 

Loss of oils (การสูญเสียน้ำมันที่เคลือบหนัง)

ในระหว่างขั้นตอนการฟอกหนัง จะมีการเคลือบด้วยน้ำมันเพื่อทำให้หนังอ่อนนุ่ม ซึ่งน้ำมันเหล่านี้อาจหายไปในระหว่างการทำความสะอาด ถึงแม้ว่าทางผู้ประกอบการจะมีวิธีการในการทำให้ความอ่อนนุ่มกลับคืนมา แต่ก็อาจส่งผลให้เนื้อสัมผัสไม่เหมือนเดิม

Imperfection often apparent after cleaning ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำความสะอาด

Scar tissue and vein marks (ริ้วรอยบนเครื่องหนัง)

ผิวหนังของสัตว์อาจได้รับบาดเจ็บจากลวดหนาม โรค หรือการต่อสู้กับสัตว์อื่นในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งรอยต่างๆเหล่านี้อาจทำให้การย้อมสีไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงมีการเติมฟิลเลอร์ก่อนการย้อมสี แต่ผิวหนังบางส่วน เช่น บริเวณเส้นเลือดหรือผิวหนังที่มีลักษณะหยักเป็นคลื่น อาจส่งผลต่อการเติมฟิลเลอร์และอาจเห็นได้ชัดเจนหลังจากทำความสะอาด

Wrinkles (ริ้วรอยหรือรอยย่น)

หนังที่ทำจากผิวหนังบริเวณลำคอ หรือส่วนท้องของสัตว์ ซึ่งจะมีความยับย่นตามธรรมชาติ จุดเหล่านี้จะถูกยืดหนังออกและทำให้เรียบในระหว่างการผลิต ซึ่งรอยยับย่นนี้อาจจะปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ซึ่งการทำความสะอาดก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หนังมีความคลายตัวมากขึ้น และทำให้เห็นรอยย่นได้อย่างชัดเจน

Texture change (เนื้อสัมผัสเปลี่ยน)

แม้ว่าผู้ผลิตพยายามที่จะเลือกหนังที่มีเนื้อสัมผัสที่ใกล้เคียงกันในการตัดเย็บเสื้อผ้า แต่บางครั้งผิวสัมผัสของหนังส่วนที่เรียบและส่วนที่หยาบ อาจจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนหลังจากที่ทีการการทำความสะอาด

Shrinkage (การหดตัว)

เมื่อเวลาผ่านไป การหดตัวอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผิวหนังอ่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากการทำความสะอาด ส่งผลให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่อสวมใส่ การทำความสะอาดเสื้อผ้าอาจจะทำให้เกิดรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อสวมใส่ในช่วงแรก นอกจากนั้นปัญหาการหดตัวอาจพบได้ได้จากกระบวนการผลิต ซี่งไม่สามารถแก้ไขได้ในขั้นตอนการทำความสะอาด

Thin skins (หนังที่มีลักษณะบาง)

หนังที่มีลักษณะบาง จะมีความเปราะบางเกินไปสำหรับการใช้ตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งหนังลักษณะนี้ จะมีอายุการใช้งานที่สั้น นอกจากนั้นการทำความสะอาด จะส่งผลให้หนังบางลงและอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

Oxidation (Color change) (ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หรือสีเปลี่ยน)

เมื่อสัมผัสกับแสงและก๊าซในบรรยากาศ สีย้อมอาจเกิดการออกซิไดซ์ได้ ซี่งปัญหานี้อาจค่อยๆเกิดขึ้น ตามอายุการใช้งาน และอาจเกิดจากการทำความสะอาดได้เช่นกัน บริเวณที่ไม่สัมผัสปัจจัยที่ทำให้เกิดการออกซิไดซ์ เช่น ด้านในของปกเสื้อ อาจช่วยรักษาสภาพสีให้ใกล้เคียงของเดิม ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขได้จากการทำความสะอาดด้วยวิธีซักแห้ง

Color shading from adhesives (สีที่ไม่สม่ำเสมอจากการใช้วัสดุที่ใช้เย็บติด)

บริเวณที่ใช้กาวติด ขอบหนัง ตะเข็บ หรือพิ้นที่รอยต่ออื่นๆของการตัดเย็บ อาจมีสีที่ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากกาวที่ใช้ติดไม่ได้ละลายอย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทนต่อการทำละลายในสารละลายต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาสีบริเวณรอยต่อแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ

Shaded leather (สีที่ไม่สม่ำเสมอ)

ผิวสัมผัสของหนังที่แตกต่างกันอาจทำให้มีการดูดซับไขมัน หรือสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดไม่เท่ากัน ส่งผลให้สีเข้มขึ้นเล็กน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้เองก่อนการทำความสะอาด และอาจจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นหลังจากทำความสะอาด โดยปัญหานี้เกิดขึ้นจากลักษณะตามธรรมชาติของหนัง ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมจากผู้ประกอบการ

Leather trims (วัสดุตกแต่งบนเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากหนัง)

กระดุมหรือวัสดุที่ตกแต่งเพิ่มเติมบนเสื้อผ้า อาจทำให้เกิดปัญหาสีตกเปรอะเส้นใยผ้า ดังนั้นวัสดุตกแต่งต่างๆที่ติดเพิ่มมา ควรจะมีความคงทนต่อการดูแลรักษาและการทำความสะอาดที่ระบุบนฉลาก หากพบปัญหานี้ควรติดต่อกลับไปที่ร้านที่ซื้อ เพื่อแก้ไขปัญหา การติดวัสดุตกแต่งประเภทหนัง โดยทั่วไปที่นิยมใช้ จะเป็นหนังนิ่มสีเข้ม หนังหรือหนังงูสีเข้ม ตกแต่งลงบนเสื้อผ้าสีขาวหรือสีพาสเทล ซึ่งหลายครั้งวัสดุ(หนัง)เหล่านี้อาจไม่คงทนต่อการทำละลายจากสารเคมีที่ใช้ในการซักแห้ง ทำให้สีตกและเปรอะเสื้อผ้าได้

ผู้ประกอบการอาจเลือกที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการทำความสะอาด โดยพิจารณาจากการทดสอบความคงทนของสี ซึ่งปัญหาสีตกในลักษณะนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำการแก้ไขได้ยาก

Imitation leathers and suedes (หนังเทียมและหนังนิ่ม)

หนังเทียมและหนังนิ่มเทียม มีวิธีการผลิตที่หลากหลาย และบางครั้งก็ยากที่จะแยกแยะออกจากหนังจริง หนังเทียมหรือหนังนิ่มเทียมบางส่วน อาจเคลือบด้วยสารที่ใช้ไวนิลหรือยูรีเทน ซึ่งอาจทำให้มีลักษณะเหมือนกับหนังนิ่มจริง ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ ความไม่คงทนต่อสารเคลือบต่อการทำความสะอาดด้วยวิธีการซักแห้ง ทำให้เกิดการติดกัน หรือพอง ยับย่น หรือแข็งกระด้าง เป็นต้น

ในการทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเครื่องหนัง หรือหนังนิ่ม ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝน และมีเทคนิคที่ทันสมัยในการดูแลรักษา เพื่อหลีกเลียงผลเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการทำความสะอ