All About Shirts

Pinstrip and Oxford shirt damage

ความเสียหายที่เกิดกับเสื้อที่มีลายหรือเสื้อที่ทำจากผ้าอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford)

ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการร้านซักแห้งหรือร้านซักรีด ประสบปัญหาที่ไม่ทราบสาเหตุเกี่ยวกับเสื้อเชิ้ตสำหรับผู้ชายที่ผลิตจากผ้าฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์ (cotton 100%) โดยปัญหาที่พบคือ สีหรือรูปแบบของลายเสื้อที่เป็นผ้า อ๊อกซ์ฟอร์ด ซีดลง จนทำให้ลายผ้าจางหายไป ปัญหานี้อาจพบได้เมื่อรีดด้วยความร้อน หรือลายจางหายไปเองก่อนอายุการใช้งาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวสร้างความสับสนให้กับหลายๆคน เนื่องจากพบปัญหาลายบนผ้าจางไป แต่กลับไม่พบปัญหาผ้าสีตก

วิธีสังเกตง่ายๆ คือ เมื่อนำผ้าไปดูในที่ๆมีแสงสว่าง จะพบว่าสีของเส้นด้ายที่ใช้ทอจางหายไป เหลืองเพียงแค่ด้ายสีขาวที่แสดงให้เห็นรูปแบบของลายที่เกิดจากการทอเพียงเท่านั้น

หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผ้าออกซ์ฟอร์ด

ผ้าทอจากเส้นด้ายตามลักษณะดังรูปที่ปรากฏด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นลวดลายเฉพาะตัวของผ้าตามรูปแบบการทอผ้า จากปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อสีของเส้นด้ายซีดจางลงจำทำให้ดูคล้ายว่าลายบนผ้าหายไป แต่จริงๆแล้วลายบนผ้าที่เกิดจากการทอยังอยู่ เพียงแต่สีซีดจางไปจนมองไม่เห็นนั่นเอง ซึ่งเมื่อนำไปส่องใต้แสงไฟ ก็จะเห็นรูปแบบการทอของผ้าเช่นเดิม

History

ความเป็นมา

ในปี ค.ศ. 1985 พบปัญหาสีหรือรูปแบบของลายเสื้อที่ของผ้าอ๊อกซ์ฟอร์ดซีดลง จนทำให้ลายผ้าจางหายไปเป็นครั้งแรก
ในปี ค.ศ. 1986 สมาคมซักผ้าโลก (International Fabricare Institute หรือ IFI) เริ่มต้นสำรวจปัญหาและผลเสียที่เกิดขึ้นกับเสื้อผ้าที่เกิดจากวิธีที่ใช้ซักรีดจากผุ้ประกอบการ

ในปี ค.ศ. 1987 มีการจัดทำฐานข้อมูลปัญหาของเสื้อที่ตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เสื้อผ้า (Garment analysis laboratory) จากฐานข้อมูลระบุว่าด้ายสีแดงและสีน้ำเงินเป็นสีที่พบปัญหามากที่สุด นอกจากนั้นข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่า มากกว่า 50% ของเสื้อผ้าที่มีปัญหามักจะผลิตมาจากผู้ผลิตเดียวกัน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสีย้อมระบุว่าสีย้อมที่ใช้ในการย้อมเส้นด้ายที่ใช้ในการทอเสื้อเป็นสีย้อมประเภทสี รีแอคทีฟ (Reactive dyes) ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Thermocracking ที่ทำให้โมเลกุลของกรดในเส้นใยเกิดปฏิกิริยาเมื่อโดนความร้อนและเกิดการสลายตัวออกจากเส้นใย

ในปี ค.ศ. 1988 มีการจัดการประชุมระหว่างผู้ผลิตเสื้อ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสีย้อม และบริษัทเคมีภัณฑ์ขี้นในวันที่ 15 กันยายน แต่เนื่องจากการประชุมนี้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตมากนัก จึงทำให้มีเพียง 4 หน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุม

ในปี ค.ศ. 1989 จากข้อมูลการศีกษาจากผู้ผลิตเสื้อ พบว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากการใช้ laundry sour ในกระบวนการซักรีด ดังนันทางสมาคมซักผ้าโลกจึงได้ทำการทดสอบผลของปฏิกิริยาดังกล่าวที่มีต่อเสื้อ จากผลการทดสอบพบว่าเกิดปัญหาสีของด้ายจางหายไปเมื่อทำการซักรีด แต่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

การประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ไขถูกจัดขึ้นอีกครั้ง โดยเป็นการประชุมกันระหว่างผู้ผลิตเสื้อผ้า ผู้ผลิตผ้าทอ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสีย้อม โดยผลของการประชุมสรุปได้ว่า ปฏิกิริยา Thermocracking อาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เกิดสีเส้นด้ายซีดจาง แต่จากข้อมูลที่นำเสนอในการประชุมในครั้งนี้ ผู้ร่วมประชุมมีความเห็นว่าสีย้อมอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว

ในปี ค.ศ. 1990 สมาคมซักผ้าโลกพยายามที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้ laundry sours ในกระบวนการซักรีด (เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้ามีคราบเหลือง หรือติดกับเตารีด) ทางสมาคมซักผ้าโลกจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการซักผ้าทดแทนการใช้ laundry sours เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสีด้ายจาง นอกจากนั้นยังได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสีย้อมผ้าด้วย

จากผลการศึกษาพบว่า การใช้ laundry sour ต่างชนิดกันในขั้นตอนการซักรีดทำให้ผลเสียต่อสีเสื้อ เปรียบเทียบกับการใช้ laundry sour ชนิดเดียวกันอาจจะทำให้เกิดความเสียหายน้อยลง แต่การใช้ laundry sour ไม่ว่าชนิดใดก็ตามจะส่งผลให้สีของด้ายจางหายไปเร็วกว่าอายุการใช้งาน

จากปัญหาดังกล่าว ผู้ผลิตสีย้อมสรุปว่า มีสาเหตุจากการสลายของโมเลกุลของสีย้อมในเส้นใยเมื่อสัมผัสกับความร้อนในสภาวะกรด ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอออน (ion exchange) โดยวิธีการแก้ปัญหา คือ ต้องปรับสภาพไม่ให้ค่าสภาวะ
กรด-ด่าง มีค่าต่ำกว่า 6.5

หมายเหตุ: Laindry sours เป็นสารเคมีประเภทบัฟเฟอร์ที่ใช้ปรับความเป็นด่างของเส้นใยผ้า (เป็นกรดอ่อนมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน)

 

Today

ปัจจุบัน

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1991 ได้มีการจัดการประชุมเพื่อหาแนวแทงในการแก้ไขปัญหา โดยเป็นการร่วมประชุมระหว่าง ผู้ผลิตเสื้อ ผู้เชี่ยวชาญด้านสีย้อม และผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เคมีสำหรับการซักรีด โดยการประชุมครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการประชุมครั้งใหญ่ที่ประกอบไปด้วยผู้ร่วมประชุมจากหลากหลายหน่วยงาน

ผลการประชุมระบุว่าปัญหาเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างสีย้อมและ laundry sour รวมทั้งการสัมผัสความร้อน และยังพบว่าผู้ผลิตส่วนมากไม่ต้องการเปลี่ยนชนิดของสีย้อม นอกจากนั้นการใช้ laundry sour รวมไปถึงขั้นตอนในการซักรีดต่างๆอาจทำให้ยากต่อการควบคุมสภาวะกรด-ด่างที่มีค่า 6.5 เนื่องจากข้อจำกัดที่กล่าวมา จึงยากต่อการหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะส่งผลเสียต่อเสื้อผ้า

ดังนั้นวีธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ ทางผู้ผลิตสารเคมีที่ใช้ในการซักรีด จะต้องทำการพัฒนาน้ำยา หรือสารเคมีที่สามารถปรับสภาวะ และรักษาความเป็นกรดด่างให้มีค่าที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาน้ำยาหรือสารเคมีในการซักรีดแล้ว ทางสมาคมซักผ้าโลกจะดำเนินการทดสอบผลสารเคมีหรือน้ำยานั้นๆต่อไป

จนกว่าผู้ผลิตที่ใช้สีย้อมประเภทสีรีแอค หรือผู้ประกอบการร้านซักรีด จะหาวิธีที่จะแก้ปัญหาที่เกิดจากการซักรีดนี้ได้ ผู้บริโภคควรให้ความระมัดระวังที่จะเกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำความสะอาด
Interfacting defects (ปัญหาที่เกิดจากผ้ารองด้านใน)

หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติม Inter-facing คือ ผ้ารองที่ทำให้ผ้าจริงมีน้ำหนัก คงรูปทรง มีทั้งแบบเย็บติดกับผ้าจริง sewn in or non-fusible และ แบบเป็นผ้ากาว รีดทับผ้าจริงด้วยเตารีด fusible

สาเหตุของปัญหาผ้าย่นบริเวณปกเสื้อหลักจากการซักรีดเกิดจากอะไร? การซักรีดเสื้ออาจทำให้ผ้ารองด้านในของเสื้อเกิดการหดตัวทำให้เกิดรอยย่นบริเวณผ้าด้านนอก ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเลือกผ้ารองด้านในให้เหมาะกับผ้าที่นำมาใช้ในการตัดเย็บ

สาเหตุของปัญหาผ้าเป็นรอยด่างสีเทา หรือผ้าเงาบริเวณบางส่วนของปกเสื้อ หรือข้อมือเกิดจากอะไร? ปัญหานี้มีสาเหตุมาจากการอ่อนตัวของวัสดุที่ใช้ในการติด หรือยึดผ้ารองด้านในของเสื้อและซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยเลือกวัสดุในการติดหรือยึดผ้ารองด้านในให้เหมาะสมและคงทนต่อการซักรีด

Wear life expectancy

อายุการใช้งานในการสวมใส่

การประมาณอายุการใช้งานของเสื้อเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น ความถี่ในการสวมใส่ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม คู่มือการเรียกร้องค่าชดเชย ระบุว่า เสื้อจะมีอายุการใช้งานในการสวมใส่ประมาณ 2 ปี หรืออาจจะใช้เกณฑ์ในการประมาณอายุการใช้งานของเสื้อ โดยเฉลี่ยแล้วควรจะมีอายุการใช้งานหลังจากผ่านการซักประมาณ 30 – 35 ครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจจะขึ้นอยู่กับ ลักษณะการสวมใส่ ส่วนประกอบหรือชนิดของเส้นใย และขั้นตอนในการซักรีด

Fugitive dyes

ปัญหาสีซีด

ข้อกำหนดในการดูแลรักษาเสื้อผ้ากำหนดไว้ว่าสีย้อมที่ใช้ควรจะมีความทนทานต่อวิธีการทำความสะอาดตามที่ระบุในฉลาก หากสีย้อมไม่ทนต่อการละลายน้ำ อาจจะเกิดปัญหาสีตกในระหว่างขั้นตอนการทำความสะอาดและส่งผลให้สีซีดได้

Perspiration and antiperspirant damage (เหงื่อและการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเสื้อจากเหงื่อ)

คราบเหงื่อที่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้าหลังจากการสวมใส่ อาจะทำให้เกิดคราบสกปรก และทำลายเนื้อผ้า เนื่องจากเหงื่อมีสารอลูมิเนียมคลอไรด์(aluminum chloride) เนื้อผ้าบริเวณที่สัมผัสเหงื่อ เช่น ใต้วงแขน อาจจะพบปัญหานี้ได้ วิธีการลดการเกิดปัญหานี้ทำได้โดยการทำความสะอาดทันทีหลังจากการสวมใส่

Buttons

กระดุม

ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ กระดุมเกิดความเสียหาย หรือแตกในระหว่างขั้นตอนการซักรีด ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่ยากต่อการหลีกเลี่ยงถ้ามีการติด หรือปักกระดุมบนเสื้อ กระดุมส่วนมากผลิตจากพลาสติกแบบอิ่มตัว(polyester resin) ดังนั้นความแข็งแรงทนทานของกระดุมนั้นจึงขึ้นอยู่กับปริมาณของโพลีเอสเตอร์ที่ผสมอยู่ ทางสมาคมซักผ้าโลกจีงให้แนะนำว่าผู้ผลิตไม่ควรใช้โพลีเอสเตอร์ในปริมาณมากเป็นส่วนผสม

Shrinkage

การหดตัว

ปัญหาเสื้อหดตัวเป็นปัญหาที่ยากจะเกิดขี้น โดยทั่วไปเสื้อที่ผลิตอาจจะมีการหดตัวเกิดขึ้นประมาณ 2% ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเสื้อ ในกรณีที่พบปัญหาเสื้อหดตัวมากกว่าที่ทางผู้ผลิตกำหนดอาจมีสาเหตุมาจากวัสดุหรือสิ่งทอที่ใช้ในการตัดเย็บไม่มีความคงทน